เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [4. ปวารณาขันธกะ] 141. ปวารณาฐปนะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูก
ซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน
อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ แต่มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูก
ซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน
อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ มีอาชีวะบริสุทธิ์ แต่เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูก
ซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน
อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา

เรื่องเหตุผลในการงดปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ มีอาชีวะบริสุทธิ์ เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เมื่อถูก
ซักถาม สามารถตอบข้อซักถามได้” สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านงดปวารณา
ของภิกษุนี้ทำไม งดเพราะเรื่องอะไร งดเพราะสีลวิบัติ หรืองดเพราะอาจารวิบัติ หรือ
งดเพราะทิฏฐิวิบัติ”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมงดเพราะสีลวิบัติบ้าง งดเพราะอาจารวิบัติบ้าง
งดเพราะทิฏฐิวิบัติบ้าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :380 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [4. ปวารณาขันธกะ] 141. ปวารณาฐปนะ
สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “คุณรู้สีลวิบัติหรือ รู้อาจารวิบัติหรือ รู้ทิฏฐิ
วิบัติหรือ”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมรู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิ
วิบัติ”
สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ก็สีลวิบัติเป็นอย่างไร อาจารวิบัติเป็น
อย่างไร ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ปาราชิก 4 สังฆาทิเสส 13 นี้ชื่อว่าสีลวิบัติ
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้ชื่อว่าอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ
อันตคาหิกทิฏฐิ นี้ชื่อว่าทิฏฐิวิบัติ” สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ท่านงด
ปวารณาของภิกษุนี้ทำไม งดด้วยได้เห็นหรือ งดด้วยได้ยินหรือ งดด้วยนึกสงสัยหรือ”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “งดด้วยได้เห็นบ้าง งดด้วยได้ยินบ้าง งดด้วยนึก
สงสัยบ้าง”
สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ท่านงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้เห็น
อย่างใด ท่านเห็นอะไร ท่านเห็นว่าอย่างไร ท่านเห็นเมื่อไร ท่านเห็นที่ไหน
ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิก ท่านเห็นหรือ ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ท่านเห็นหรือ
ภิกษุนี้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย... อาบัติปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ... อาบัติทุกกฏ...
อาบัติทุพภาสิต ท่านเห็นหรือ ท่านอยู่ที่ไหน ภิกษุนี้อยู่ที่ไหน ท่านทำอะไร
ภิกษุนี้ทำอะไร”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมมิได้งดปวารณาของภิกษุนี้
ด้วยได้เห็นดอก แต่ผมงดปวารณาด้วยได้ยินต่างหาก”
สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ท่านงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้ยิน
อย่างใด ท่านได้ยินอะไร ท่านได้ยินว่าอย่างไร ท่านได้ยินเมื่อไร ท่านได้ยินที่ไหน
ท่านได้ยินว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิกหรือ ได้ยินว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ได้ยินว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย... อาบัติปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ...
อาบัติทุกกฏ... อาบัติทุพภาสิตหรือ ได้ยินจากภิกษุหรือ ได้ยินจากภิกษุณีหรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :381 }